วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีรับประทานเห็ดหลินจือ




วิธีรับประทาน เห็ดหลินจือ DG





  • การรับประทานเห็ดหลินจือ สำหรับผู้ที่เริ่มรับประทาน เห็ดหลินจือ ใหม่ๆ อาจจะรู้สึกมึนศรีษะ ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ ง่วงนอน ผิวหนังเกิดอาการคัน อาเจียน อาการคล้ายท้องเสีย ท้องผูก มีปัสสาวะบ่อย หรืออาจมีผลลักษณะอาการของโรคนั้นๆ มากขึ้นเป็นปฏิกริยาสะท้อนกลับอันเป็นเรื่องปกติของการใช้ยาแผนโบราณ เนื่องจากเมื่อตัวยาได้เริ่มเข้าไปในร่างกาย จะเข้าไปชะล้างสิ่งที่เป็นพิษในร่างกาย ให้สลายหรือเคลื่อนย้ายและขับสารพิษออกจากร่างกาย จึงทำให้เกิดอาการดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญญาบอกว่าร่างกายกำลังฟื้นตัวไม่ใช่ผลข้างเคียง ดังเช่น ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเมื่อกินเห็ดหลินจือ แล้ว อาจมีการขับถ่ายน้ำตาลออกมามากกว่าปกติ ส่วนผู้ที่เป็นโรคไขข้ออาจเกิดอาการเจ็บปวดเพิ่มมากขึ้น โรคไตหรือผู้ป่วยที่ต้องล้างไตจะปวดเมื่อยตามข้อ เท้าจะบวม ร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งอาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ เพียง  2 - 3 วัน หรือประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะกลับสู่สภาพปกติ แล้วแต่สภาพร่างกายที่แตกต่างของแต่ละคน ไม่ต้องตกใจ ให้รับประทานเห็ดหลินจือต่อไปอย่าหยุด โดยลดจำนวนแคปซูลลงหากมีผลทางอาการมาก เมื่ออาการปกติให้รับประทานตามคำแนะนำต่อไป สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยารักษาที่แพทย์สั่งก็สามารถรับประทานเห็ดหลินจือควบคู่ไปได้ นอกจากจะไม่เกิดอาการต่อต้านขึ้นแล้วยังขจัดผลข้างเคียงอันเกิดจากยาแผนปัจจุบันอีกด้วย

  • การที่จะทราบว่าเราควรรับประทานมากน้อยเพียงใด ต้องขึ้นอยู่กับอาการของโรคและสภาพร่างกายของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน เช่น บางคนรับประทาน 3 ชุด ต่อวันก็สามารถบำบัดโรคได้ แต่สภาพร่างกายของบางคนต้องรับประทานเพิ่มเป็น 4 ชุด หรือ 5 ชุด หรือ 6 ชุด ต่อวัน จึงจะได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ผู้ป่วยเป็นโรคหืดหอบ โรคหัวใจ โรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคกระเพาะอาหาร ควรรับประทานหลังอาหาร 30 นาที หรือ 1 ช.ม. หลังจาก 2 สัปดาห์ เมื่อร่างกายปรับสภาพได้แล้ว จึงรับประทานก่อนอาหารเหมือนผู้ป่วยโรคอื่นๆ

  • โรคอื่นๆ ควรรับประทานก่อนอาหาร 30 นาที หรือ 1 ช.ม.

  • ผู้ป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวาร  แผลเน่าเปื่อยจากโรคเบาหวาน และโรคมะเร็งที่ผิวหนัง เมื่อรับประทานเห็ดหลินจือตามคำแนะนำแล้ว ให้นำผงราก (RG) หรือส่วนดอกของเห็ดหลินจือ ออกจากแคปซูล นำไปโรยบริเวณที่เป็นแผลอักเสบของรูทวารหนัก และบริเวณที่เป็นแผลอักเสบอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ควรละทิ้งยาจากแพทย์อย่างทันที  ให้รับประทานเห็ดหลินจือควบคู่ไปได้

  • การรับประทาน เห็ดหลินจือ ในสัปดาห์แรกจะมีปฏิกริยาเกิดขึ้น เช่นมึนศรีษะ ปวดเมื่อยตามลำตัว  ปวดตามข้อ ผิวหนังเกิดอาการคัน อาเจียน อาการคล้ายท้องเสีย ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย หรืออาจมีอาการของโรคนั้นๆ มากขึ้น ผู้ป่วยไม่ควรกังวล ให้รับประทานเห็ดหลินจือ ตามคำแนะนำต่อไป หากมีปฏิกริยาของโรคมาก ให้ลดจำนวนการรับประทานลงตามลำดับ สำหรับบางคนอาจไม่เกิดปฏิกริยาอาการใดๆ ของโรคเลยก็ได้

  • การรับประทาน เห็ดหลินจือ ให้มีประสิทธิภาพ ควรรับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน สำหรับโรคทั่วไป และ 6 เดือน สำหรับผู้ป่วยหนัก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น